วัฒนธรรมการแต่งกายของภาคใต้ 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัฒนธรรมการแต่งกายของภาคใต้

                        การแต่งกายของคนภาคใต้นั้นเป็นการแต่งกายที่ไม่เหมือนกับภาคอื่น ในด้านการแต่งกายชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบ ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัด-ย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้กลับเป็นผ้ายกที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากแต่ชาวบ้านปักษ์ใต้ทั่วไปแบบเดิมนิยมนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง การนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือบาติกที่มีลวดลายสีสันหลากหลายเป็นความนิยมในช่วงหลัง จากการรับอิทธิพลของผ้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งที่มีความคล้ายกับกับผ้าข้าวม้าของทางภาคอีสาน ผู้ชายส่วนใหญ่จะนิยมนุ่งผ้าโสร่งแต่ผู้หญิงจะนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก แต่ในปัจจุบันคนใต้ส่วนใหญ่ก็จะนุ่งเสื้อผ้าตามแฟชั่นที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป แต่ผ้าที่มีชื่อเสียงของทางภาคใต้ก็จะมีด้วยกัน คือ ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช ผ้าทอเกาะยอ ผ้าทอนาหมื่นสี ผ้าทอพุมเรียง ผ้าหางกระรอก ผ้าปาเต๊ะผ้าทอปัตตานี เป็นต้น

                        ผ้าทอพุมเรียง
                                เป็นผ้าที่ทอจากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบันผู้ทอส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เชื่อกันว่าแต่เดิมเป็นการทอใช้เองภายในครัวเรือน นิยมใช้เส้นฝ้ายล้วน แต่อาจผสมเส้นไหมบ้างสำหรับผ้าที่ต้องการความแวววาว ใช้วิธีทอแบบยกดอกนิยมนำไปตัดเป็นผ้านุ่งสำเร็จ เนื่องจากตัวซิ่นใช้ด้วยสีล้วนทอจึงทำให้สีดูสดช่วยขับลายเชิงให้เด่นขึ้นลักษณะลวดลายเลียนแบบธรรมชาติเช่นกัน เช่นดอกพิกุล ดอกบัว ดอกมะลิ ลายก้านแย่ง

 

                        ผ้าหางกระรอก
                                เป็นชนิดของผ้าทอที่สร้างชื่อชนิดหนึ่งของภาคใต้และในภาคอีสานแถบจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จุดเด่นของผ้าหางกระรอกอยู่ที่การใช้เส้นด้ายสีต่างกันฝั้นเป็นเกลียวผสมในการทอ ทำให้แลดูคล้ายขนของตัวกระรอก สมัยโบราณนิยมใช้เส้นยืนไหมล้วนและใช้เส้นพุ่งไหม 2 สีต่างกันเช่นน้ำเงิน-ขาวฟั่นเป็นเกลียวก่อนทอ ปัจจุบันใช้ด้ายใยสังเคราะห์ผสมกับเส้นไหมวิทยาศาสตร์การใช้เส้นใยผสมช่วยเพิ่มความหลากหลายแก่เนื้อผ้า ให้ความเหนียวและความมันวาวกับผืนผ้าซึ่งนิยมนำมาใช้ทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าโจงกระเบน อย่างไรก็ดี ผ้าหางกระรอกซึ่งทอด้วยเส้นใยผสมที่มีเนื้อผ้าแน่นก็อาจมีปัญหาต่อการสวมใส่ เพราะมีการถ่ายเทอากาศได้ไม่ดีเท่ากับผ้าที่ทอด้วยเส้นใยธรรมชาติ ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาชาวพม่านิยมใช้ผ้าหางกระรอกเป็นโสร่งสำหรับงานพิธีสำคัญและนิยมสั่งซื้อจากกรุงเทพฯ อยู่ระยะหนึ่ง


                        ผ้าปาเต๊ะ
                                สำหรับชาวใต้โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยใยไหม เว้นแต่จะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้นในเวลาทั่วไปจะนิยมสวมเสื้อผ้าเนื้อบางเบาแต่มีลายสีสันฉูดฉาด โดยเฉพาะผ้าย้อมสีที่เรียกว่า ผ้าปาเต๊ะ เป็นที่นิยมแพร่หลายตามคาบสมุทรภาคใต้ชาวมลายู จนกระทั่งถึงชาวหมู่เกาะชวา หมู่เกาะสุมาตรา และฟิลิปปินส์ 
                                ผ้าปาเต๊ะเป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางเบานำมาเขียนลายด้วยขี้ผึ้ง แล้วใช้สีย้อมภายในกรอบเส้นขี้ผึ้งจะให้ลายชัดเจนกว่าการมัดย้อม ส่วนใหญ่นิยมใช้ทำผ้านุ่ง ผ้าโสร่ง ตัดเสื้อ และใช้เป็นผ้าปูนั่ง หรือผ้าคลุมต่าง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าปาเต๊ะ

                        ผ้าทอปัตตานี
                                  เมืองปัตตานีมีผ้ามัดหมี่คล้ายคลึงกับผ้าสมปักปูมของเขมรมาก ส่วนใหญ่ทอด้วยไหมละเอียด ลวดลายกระเดียดไปทางผ้ามาเลย์และชวามีเทคนิคหลากหลาย นอกจากนี้ ยังมีผ้าโสร่งไหมที่วิจิตรสวยงามมากคล้ายๆ โสร่งอีสาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าทอปัตตานี

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

                  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัฒนธรรมภาคใต้ อาหาร
                        อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก 
                        อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู                            
                        อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น
                       ผักที่ขึ้นชื่อของภาคใต้


                               เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์ หรือนำไปดองรับประทานกับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้


                                ลูกเนียง มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสดๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน




                                ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้
      อาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แกงไตปลา
              แกงไตปลา
\ชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับท้องทะเล อาหารการกินส่วนใหญ่มาจากทะเล ซึงถ้ามีมากเกินรับประทานก็จะนำอาหารที่ได้จากทะเลนั้นมาทำการถนอมอาหาร
                                        ไตปลา หรือพุงปลาได้จากการนำพุงปลาทูมารีดเอาไส้ในออก ล้างพุงปลาให้สะอาดแล้วใส่เกลือหมักไว้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป หลังจากนั้นจึงจะนำมาปรุงอาหารได้
                                        แกงไตปลามีรสจัด จึงต้องรับประทานร่วมกับผักหลาย ๆ ชนิดควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งคนภาคใต้เรียกว่า ผักเหนาะ ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง เช่น สะตอ ลูกเนียง ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ แตงกวา หน่อไม้
กงส้มออกดิบ (คูน)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แกงส้มออกดิบ (คูน)
                                       แกงส้มออกดิบ มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงส่วนใหญ่ออกไปทางรสเผ็ดร้อน เปรี้ยว สรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร มะนาวและส้มแขกมีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยแก้ไอ ขับเสมหะและมีวิตามินซีสูง
  แกงหมูกับลูกเหรียง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แกงหมูกับลูกเหรียง
ผัดสะตอใส่กะปิ



                                ข้าวยำปักษ์ใต้  

                                              à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวยำปักษ์ใต้

        วัฒนธรรมประเพณี


                            ประชากรทางใต้ประกอบด้วยชุมชนชาวไทย-พุทธ และ ชุมชนชาวไทย-มุสลิม โดยพื้นที่ตอนบน นับจากชุมพรไปถึง พัทลุง ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยนับถือพุทธศาสนา ส่วนทางพื้นที่ตอนล่างส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู (ไทย-มุสลิม)  ประเพณีที่สำคัญมีดังนี้

                            ประเพณีชักพระ 

                                 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ประเพณีชักพระ

                                        เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงาน
เพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่ในพื้นที่ที่ห่างไกลแม่น้ำ ก็จะจัดพิธีทางบก

                            ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ 

                                        ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา และ วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

                            ประเพณีสารทเดือน 10 

https://nuttamol1307.files.wordpress.com/2014/12/

                                        แบ่งลักษณะงานเทศกาลนี้ออกเป็น 3 วันคือ 
                                                    วันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันแรกหรือวันเริ่มเตรียมจัดหาซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่พระสงฆ์จำเป็นต้องใช้ รวมทั้งอาหาร จัดใส่ภาชนะ เช่น กระจาด ตะกร้า ชะลอม และอาหารแห้งอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ หรือเป็นหัวใจของสำรับ เพราะเป็นขนมประเพณี ที่ทำสืบมาแต่โบราณ 5 ชนิดคือ 
                                                        1.ขนมลา แป้งทอดโรยเป็นเส้นเล็กๆ
                                                        2.ขนมพอง เป็นข้าวเหนียวทอดเม็ดพอง ส่วนมากทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
                                                        3.ขนมบ้า หรือขนมมด เป็นขนมแผ่นรูปกลมแบนทอด คล้ายลูกสะบ้าไม่มีรู
                                                        4.ขนมดีซำ หรือเรียกขนมเบซำ เป็นขนมปั้นรูปกลมแบน ทำเป็นรูตรงกลาง
                                                        5.ขนมกงหรือขนมไข่ปลา
                                                    วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เรียก “วันยกหมรับ” และถือเป็นวัน “ตั้งเปรต” ด้วย คือ ยกภาชนะสำรับต่างๆ ที่บรรจุสิ่งของทำบุญทุกอย่างไว้แล้วนำไปทำบุญถวายพระที่วัด จากนั้นนำสิ่งของที่ทำบุญออกไปทำพิธี “ตั้งเปรต” การตั้งเปรตคือ การเอาอาหารทุกชนิด รวมทั้งดอกไม้ธูปเทียนเศษสตางค์ใส่กระทงไปวางบนแผ่นกระดาน ทำพิธีกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลอุทิศไปถึงญาติที่ตาย อาหารที่นำมา ตั้งเปรต นี้ หลังจากทำพิธีอุทิศส่วนกุศลเสร็จ จะมีการแย่งชิงสิ่งของอาหารที่ ตั้งเปรต นี้ เรียกว่า ชิงเปรต
                                                    วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวพื้นเมืองเรียก “วันฉลองหมรับ” หรือเป็น “วันสารท” มีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และเป็นวันสุดท้ายของการทำบุญตามประเพณีนี้
            วัฒนธรรมด้านศิลปการแสดง การละเล่น
   วัฒนธรรมด้านศิลปการแสดงของภาคใต้นั้นมีหลายอย่าง แต่การแสดงและการละเล่นที่เป็นหลักและแสดงถึงเอกลักษณ์ของคนทางใต้ ก็มีดังนี้

                            มโนห์รา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ  รำโนรา
                                        การแต่งกายของมโนราห์ใต้ ผู้แสดงนุ่งสนับเพลาพร้อมเครื่องทรงครบชุด สวมเทริด สวมเล็บมือยาว  เครื่องคนตรีที่ใช้ในการแสดงมีดังนี้
                                                    1.โหม่ง
                                                    2.ฆ้องคู่
                                                    3.กลอง(โพน)
                                                    4.ปี่
                                                    5.ทับ(โทน)คู่
                                                    6.ฉิ่ง
                                                    7.แกระ
                                        การขับร้องใช้ประสานเสียงกัน และรับส่งเวลามีบทขับ โดยลูกคู่หน้าโรง การร้องบทใช้ด้นเป็นคำกลอนสด

                            หนังตะลุง 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ  หนังตะลุง 

                                        เป็นการแสดงมหรพพื้นบ้านที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกจังหวัดภาคใต้ แสดงโดยการเชิดตัวแผ่นหนังที่กำหนดทำขึ้นเป็นตัวละครในเรื่อง ตัวหนังที่เชิดนี้ทำด้วยหนังวัวหรือหนังแพะ ตอกเป็นลายฉลุลวดลายงดงาม แล้วใช้ไม้ชักเชิดให้เคลื่อนไหวท่าทางไปกับบทพากย์ เรื่องที่นำมาแสดงเป็นเรื่อง รามเกียรติ์ และเรื่องอื่นๆที่นายหนังแต่งขึ้นเองผูกเป็นเรื่องราว เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงมีดังนี้
                                                  1.กลองตุ๊ก 
                                                  2.ฆ้องคู่ 
                                                  3.โหม่ง 
                                                  4.ซอด้วงหรือปี่ 
                                                  5.ทับ (โทน) 
                                                  6.ฉิ่ง
                           รองเง็ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รองเง็ง

                                        เป็นการแสดงประเภทศิลปะการเต้นรำประกอบดนตรี ของคนพื้นเมืองในแถบ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตลอดจนเมืองต่างๆ ของมาเลเซียตอนเหนือ เช่น กะลันตัน ไทรบุรี ปาหัง ตรังกานู ล้วนเป็นที่นิยมเล่นกันทั่วไปและแพร่ไปถึงอินโดนีเซีย เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรำ รองเง็ง มี กลองรำมะนา ฆ้อง และ ไวโอลิน 
                                        ลักษณะการเต้นรำ เมื่อดนตรีขึ้นเพลง ผู้ชายจะไปโค้งฝ่ายหญิงแล้วพากันไปเต้นรำเป็นคู่ๆ ตามจังหวะเพลง มีทั้งช้าและเร็วหรือสลับกัน กระบวนท่ามีทั้งท่ายืน ท่านั่ง ปรบมือ
เล่นเท้า หมุนตัว การเต้นรำจะไม่ถูกเนื้อตัวกัน


ลักษณะประชากรทางด้านวัฒนธรรมและสังคม

            ประชากรส่วนใหญ่ของภาคใต้มีลักษณะทางวัฒนธรรมและสังคมเช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ของประ เทศไทย แต่บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีประชากรที่มีเชื้อชาติ ศาสนาและภาษาแตกต่างไปบ้าง

                            1) เชื้อชาติ
                                    ในดินแดนภาคใต้ของไทยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทย ซึ่งจำแนกตามลักษณะเด่นได้ดังนี้
                                                    - ชาวไทยพุทธ คนไทยในภาคใต้ตอนบนเป็นคนไทยพุทธ ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ประเพณีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเพณีชิงเปรตและประเพณีชักพระ ของ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
ส่วนคนไทยเชื้อสายจีนมีประเพณีบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น มีเทศกาลถือศีลกินเจ ที่ จ.ภูเก็ต เป็นต้น
                                                    - ชาวไทยมุสลิม ในประเทศไทยมีจำนวนประมาณแสนคน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ชาวไทยมุสลิมใช้ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าภาษายาวี แต่สามารถพูดไทยได้ เพราะปัจจุบันมีโรงเรียนของเอกชน และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเปิดสอนวิชาสามัญและวิชาศาสนา ซึ่งแต่เดิมผู้ปกครองนักเรียนไทยมุสลิม ต้องส่งเด็ก ไปเรียนหาความรู้ทางศาสนากับโต๊ะครูในปอเนาะ ปัจจุบันชาวไทยมุสลิมได้ดำรงตำแหน่งทางราชการที่สำคัญหลายตำแหน่ง เช่น พัฒนากร นายอำเภอ ครูใหญ่ เป็นต้น โดยทั่วไปชาวไทยมุสลิมมีนิสัยรักสงบ เคารพผู้ปกครองบ้านเมือง รักประเทศ ชาติและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนกับคนไทยทั่วไป
                                                    - ไทยใหม่หรือชาวเล บริเวณชายฝั่งและเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านทะเลอันดามันมีชาวพื้นเมืองที่เรียก ว่า ชาวเล หรือชาวน้ำ จำนวนเป็นหมื่นคน กลุ่มชาวเลมีสังคมภาษาพูดและขนบธรรมเนียมที่เป็นลักษณะของกลุ่มโดยเฉพาะ สันนิษฐานว่าชาวเลเหล่านี้เป็นเผ่าพันธุ์เมลาเซียนที่เร่ร่อนทางทะเลมาจากหมู่เกาะเมลาเซียน ซึ่งความจริงแล้วชาวเลน่าจะ อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้เพราะอยู่ใกล้หมู่เกาะเมลาเซียนมากกว่า แต่ชาวเลกลับไปอาศัยอยู่มากทางชายฝั่ง ด้านตะวันตก ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเลือกถิ่นฐานดังกล่าว ชุมชนชาวเลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ ใน หมู่เกาะอาดัง หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ปัจจุบันชาวเลที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวรมีหลายแห่ง จึงต้องมี การทำสำมะโนครัวและมีการตั้งนามสกุลให้ เช่น ทะเลลึก ช้างน้ำ หาญทะเล เป็นต้น และได้เปลี่ยนชื่อเรียกชาวเลเสียใหม่ ว่า ชาวไทยใหม่
                                                    - เงาะหรือชนเผ่าซาไก ชนเผ่านี้เป็นชนกลุ่มรน้อย มีรูปร่างเตี้ยแคระ ผมหยิกหยอง ยังมีอยู่บ้างใน อ.บัน นังสตา อ.ธารโต จ.ยะลาและในป่า จ.ตรัง ยึดถือประเพณีของชาวป่า เช่น เมื่อมีคนตายจะย้ายที่ละทิ้งหมู่บ้านไปอยู่ที่ ใหม่ทั้งหมด เป็นต้น

                        2) ศาสนา
                                ประชากรในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนคนไทย โดยทั่วไป นอกจากนี้มีพิธีการปลีกย่อยบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง นอกจากไทยพุทธแล้ว บริเวณทางตอนใต้ของภาค โดยเฉพาะในเขตจังหวัดชายแดน ประชาชนในจังหวัดเหล่านี้เกือบร้อยละ ๖๐ นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อมีประชากรนับ ถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากรองไปจากพระพุทธศาสนา ทางราชการจึงออกกฎหมายรับรอง และได้วางระเบียบ ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามด้วย เช่น มีกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนมัสยิด และได้มีการตั้งคณะ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก เพื่อให้คำปรึกษาแก่ทางราชการเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางเป็นศาสนู ปถัมภกของศาสนาอิสลามด้วย นอกจากนี้รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประกอบพิธีการทางศาสนาของชาวไทย มุสลิมอย่างมาก จึงได้สร้างมัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยให้แก่ชาวไทยมุสลิมตั้งอยู่ที่ จ.ปัตตานี

                        3) ภาษา
                                ชาวไทยในภาคใต้ได้อพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เป็นเวลานาน รวมทั้งได้ ผสมกับชนพื้นเมือง จึงทำให้มีผิวพรรณต่างไปจากคนภาคอื่นบ้าง รวมทั้งภาษาพูด และมีทะเลที่ตั้งห่างไกลจากเมือง หลวง การคมนาคมไม่สะดวก แยกกันมาหลายร้อยปี ภาษาจึงเปลี่ยนแปลงไปจากภาษาเดิม ซึ่งความจริงเพี้ยนไปตาม ท้องถิ่นแต่ยังเป็นภาษาไทยอยู่ มีสำเนียง เสียงห้วน และพูดเร็วกว่าภาษาทางภาคเหนือ แต่จังหวัดที่มีประชากรพูดต่าง กันไปคนละภาษาเลยก็คือในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมนิยมใช้ภาษามลายู เมื่อพูดกัน นานเข้าก็ไม่สารมารถพูดและฟังภารษาไทยให้เข้าใจได้ โดยเฉพาะผูที่อยู่ในชนบทห่างไกลและไม่ได้เข้าโรงเรียนสอนภาษา ไทย ในการติดต่อกับทางราชการจึงต้องใช้ล่ามแปล

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น